เมนู

ธรรมิกวรรควรรณนาที่ 5


อรรถกถานาคสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในนาคสูตรที่ 1 แห่งธรรมิกวรรคที่ 5 ดังต่อ
ไปนี้ :-
คำว่า อายสฺมตา อานนฺเทน สทธึ นี้ พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระเถระว่า อานนท์ เรามาไปกันเถิด ดังนี้
แล้วเสด็จไป. ฝ่ายพระศาสดาบัณฑิตพึงทราบว่า อันภิกษุ 500 รูปเหล่านั้น
นั่นแหละ แวดล้อมแล้วได้เสด็จไปที่บุพพารามนั้น.
บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า) อันภิกษุ
500 รูปเหล่านั้นนั่นแล แวดล้อมแล้วเสด็จเข้าไป. บทว่า ปริสิญฺจิตฺวา นี้
เป็นคำโวหาร หมายความว่า ทรงสรงสนานแล้ว.
บทว่า ปุพฺพสทิสานิ กุรุมาโน ความว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า)
ทรงนุ่งผ้าสองชั้นที่ย้อมแล้ว ทรงถือเอาผ้าอุตราสงค์ด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง
ประทับยืนผินพระปฤษฏางค์ให้โลกธาตุด้านทิศตะวันตก ผินพระพักตร์ให้โลก-
ธาตุด้านทิศตะวันออก ทำพระวรกายให้แห้ง เหมือนก่อนโดยปราศจากน้ำ.
ฝ่ายภิกษุสงฆ์ลงตามที่นั้น ๆ อาบน้ำแล้วได้ขึ้นมายืนล้อมพระศาสดา
อย่างพร้อมพรัก สมัยนั้น พระอาทิตย์โคจรคล้อยต่ำลงไปทางโลกธาตุด้าน
ทิศตะวันตก คล้ายตุ้มหูทองแดงผสมทองคำ กำลังจะล่วงหล่นจากอากาศ
ฉะนั้น. ทางด้านโลกธาตุทางทิศตะวันออก พระจันทร์ เหมือนมณฑลแห่ง
เงินที่บริสุทธิ์ ฉะนั้น.

ในที่ตรงกลางโลกธาตุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีภิกษุ 500 รูป
เป็นบริวาร ได้ประทับยืนเปล่งฉัพพรรณรังสีฉายแสงสว่าง ณ ริมฝั่งแม่น้ำ
บุพพโกฏฐกะ.
บทว่า เตน โข ปน สมเยน ฯเปฯ เสโต นาม คาโม
ความว่า นาคคือช้างที่ได้นำมอย่างนั้น (นามว่า เสตะ) เพราะมีสีขาว. บทว่า
มหาตุริยตาฬิตวาทิเตน ได้แก่ ด้วยการประโคมดนตรีอย่างมโหฬาร.
ในบทว่า มหาตุริยตาฬิตวาทิเตน มีอธิบายว่า การประโคม
ครั้งแรกชื่อว่า ตาฬิตะ การประโคมครั้งต่อไปต่อจากครั้งแรกนั้น ชื่อว่า
วาทิตะ
บทว่า ชโน ได้แก่ มหาชนผู้ประชุมกันเพื่อดูช้าง. บทว่า ทิสฺวา
เอวมาห
ความว่า (มหาชน) เห็นช้างใหญ่นั้น อันนายควาญช้าง ให้อาบน้ำ
ขัดสีอวัยวะน้อยใหญ่แล้ว ขึ้นมาพักไว้นอกฝั่งทำตัวให้สะเด็ดน้ำ แล้วเอา
เครื่องประดับช้างมาประดับให้ จึงกล่าวคำสรรเสริญว่า ผู้เจริญ ช้างนี้งาม
แท้หนอ. บทว่า กายูปปนฺโน ได้แก่ เข้าถึงด้วยความถึงพร้อมแห่งร่างกาย
อธิบายว่า มีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์.
บทว่า อายสฺมา อุทายี ได้แก่ พระกาฬุทายีเถระ ผู้บรรลุ
ปฏิสัมภิทา. บทว่า เอตทโวจ ความว่า (พระกาฬุทายีเถระ) เห็นมหาชน
นั้นกล่าวสรรเสริญคุณของช้าง จึงคิดว่า ชนนี้กล่าวสรรเสริญคุณของช้างซึ่ง
บังเกิดในอเหตุกปฏิสนธิ แต่กลับไม่กล่าวสรรเสริญพระคุณของช้างคือ
พระพุทธเจ้า บัดนี้ เราจักกล่าวสรรเสริญพระคุณของช้างคือพระพุทธเจ้า
เปรียบเทียบกับช้างตัวประเสริฐตัวนี้ ดังนี้ แล้วได้กล่าวคำมีอาทิว่า หตฺถิเมว
นุ โข ภนฺเต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหนฺตํ ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยทรวดทรง.
บทว่า พรฺหนฺตํ ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยความใหญ่โต. บทว่า เอวมาห ได้แก่
กล่าวอย่างนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุที่นาคศัพท์เป็นไป ใน
ช้างบ้าง ม้าบ้าง โคบ้าง งูบ้าง ต้นไม้บ้าง มนุษย์บ้าง ฉะนั้น จึงตรัสคำว่า
หตฺถิมฺปิ โข เป็นต้น.
บทว่า อาคุํ ได้แก่ อกุศลธรรมที่ชั่วช้าลามก. บทว่า ตมหํ
นาโคติ พฺรูมิ
ความว่า เราตถาคตเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นนาค เพราะไม่ทำ
อกุศลกรรมบถ 10 และอกุศลจิต 12 ด้วยทวาร 3 เหล่านี้. ก็บุคคลนี้ชื่อว่า
เป็นนาค ด้วยความหมายนี้ คือไม่ทำความชั่ว.
บทว่า อิมาหิ คาถาหิ อนุโมทามิ ความว่า เราอนุโนทนา คือ
ชื่นชมด้วยคาถา 16 คาถา (แบ่งเป็นบท) ได้ 64 บทเหล่านี้. บทว่า
มนุสฺสภูตํ คือ เป็นมนุษย์อยู่แท้ ๆ มิได้เข้าถึงความเป็นเทพเป็นต้น.
บทว่า อตฺตทนฺตํ ได้แก่ ฝึกแล้วด้วยตนเองนั่นแล คือ มิได้ถูกบุคคลอื่น
นำเข้าไปสู่การฝึก.
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้วในฐานะ 6 เหล่านี้ คือ
ทรงฝึกทั้งทางตา ทั้งทางหู ทั้งทางจมูก ทั้งทางลิ้น ทั้งทางกาย ทั้งทางใจ
ด้วยการฝึกด้วยมรรคที่พระองค์ให้เกิดขึ้นเอง คือทรงสงบ คือดับ ได้แก่
ดับสนิท เพราะเหตุนั้น พระกาฬุทายีเถระจึงกล่าวว่า อตฺตทนฺตํ ดังนี้.
บทว่า สมาหิตํ ได้แก่ ตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิทั้งสองอย่าง. บทว่า
อิริยมานํ ได้แก่ อยู่. บทว่า พฺรหฺมปเถ ได้แก่ ในทางอันประเสริฐที่สุด

คือ ในทางคืออมตนิพพาน. บทว่า จิตฺตสฺสูปสเม รตํ ได้แก่ ผู้ระงับ
นิวรณ์ 5 ด้วยปฐมฌาน ระงับวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ระงับปีติด้วยตติยฌาน
ระงับสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน แล้วยินดี คือยินดียิ่งในความสงบของจิตนั้น.
บทว่า นมสฺสนฺติ ได้แก่ นมัสการด้วยกาย นมัสการด้วยวาจา
นมัสการด้วยใจ คือ นมัสการ ได้แก่ สักการะ ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม. บทว่า สพฺพธมฺมาน ปารคํ ได้แก่ (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ถึงฝั่ง
คือบรรลุถึงความสำเร็จ คือ ถึงที่สุดแห่งธรรมคือขันธ์ อายตนะ ธาตุ
ทั้งหมด ด้วยการถึงฝั่ง 6 อย่าง คือ ทรงถึงฝั่งแห่งอภิญญา ทรงถึงฝั่งแห่ง
ปริญญา ทรงถึงฝั่งแห่งปหานะ ทรงถึงฝั่งแห่งภาวนา ทรงถึงฝั่งแห่งการทำ
ให้แจ้ง ทรงถึงฝั่งแห่งสมาบัติ.
บทว่า เทวาปิ ตํ นมสฺสนฺติ ความว่า เทวดาผู้ประสบทุกข์
ทั้งหลายมีสุพรหมเทพบุตรเป็นต้น และเทวดาผู้ประสบสุข ซึ่งสถิตอยู่ใน
หมื่นจักรวาลทั้งหมดทีเดียว ต่างพากันนมัสการพระองค์. ด้วยบทว่า อิติ เม
อรหโต สุตํ
พระกาฬุทายีเถระแสดงว่า ข้าพระองค์ได้สดับในสำนักของ
พระองค์นั่นแล ผู้ได้โวหารว่า เป็นพระอรหันต์ด้วยเหตุ 4 อย่าง ดังพรรณนา
มาฉะนี้.
บทว่า สพฺพสํโยชนาตีตํ ได้แก่ ผู้ข้ามพ้นสังโยชน์ 10 ทั้งหมด.
บทว่า วนา นิพฺพานมาคตํ ได้แก่ ผู้ออกจากป่าคือกิเลส มาถึง ได้แก่
บรรลุถึงนิพพาน ซึ่งไม่มีป่า คือเว้นจากป่า คือกิเลส. บทว่า กาเมหิ
เนกฺขมฺมรตํ
ความว่า การบรรพชา 1 สมาบัติแปด 1 อริยมรรคสี่ 1 ชื่อว่า
การออกจากกามทั้งหลาย เพราะออกไปแล้วจากกามทั้งสองอย่าง (เทวดา-
นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า) ผู้ยินดี คือยินดียิ่งในเนกขัมมะนั้น.

บทว่า มุตฺตํ เสลาว กาญฺจนํ ได้แก่ เหมือนกับทองที่พ้นไป
จากธาตุ คือ ศิลา. บทว่า สพฺเพ อจฺจรุจิ ความว่า ผู้มีความงดงาม
เป็นไปเหนือสรรพสัตว์ อธิบายว่า พระโสดาบัน ชื่อว่าผู้มีความงดงามเหนือ
ผู้อื่น เพราะมีความงดงามเหนือปุถุชนผู้เกิดในภพที่ 8 ไป พระสกทาคามี
ชื่อว่าผู้มีความงามเหนือ เพราะมีความงามเป็นไปเหนือพระโสดาบัน ฯ ล ฯ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้มีความงามเหนือ เพราะมีความงามเป็นไปเหนือ
พระขีณาสพ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้มีความงามเหนือ เพราะมีความงาม
เป็นไปเหนือพระปัจเจกพุทธเจ้า.
บทว่า หิมวาญฺเญ สิลุจฺจโย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม
งามเหนือ (บุคคลอื่นทั้งเทวดาและมนุษย์) เปรียบเหมือนภูเขาหลวงหิมพานต์
งามเหนือภูเขาอื่น ๆ ฉะนั้น. บทว่า สจฺจนาโม ได้แก่ (พระผู้มีพระภาคเจ้า)
มีพระนามจริง คือมีพระนามตามเป็นจริง ได้แก่มีพระนามแท้อย่างนี้ว่า นาคะ
เพราะไม่ทำความชั่วนั่นเอง.
บทว่า โสรจฺจํ ได้แก่ ผู้มีศีลที่สะอาด. บทว่า อวิหึสา ได้แก่
กรุณา และธรรมที่เป็นส่วนเบื้องต้นของกรุณา (เมตตา). บทว่า ปาทา
นาคสฺส เต ทุเว
ความว่า ธรรมทั้งสองนั้น เป็นพระบาทเบื้องหน้าของนาคะ
คือพระพุทธเจ้า. บทว่า ตโป ได้แก่ การสมาทานวัตร. บทว่า พฺรหฺมจริยํ
ได้แก่ ศีลในอริยมรรค.
บทว่า จรณา นาคสฺส ตฺยาปเร ความว่า ตบะและพรหมจรรย์
ทั้งสองนั้น เป็นพระบาทนอกนี้ คือเป็นพระบาทเบื้องหลังของนาคะ คือ
พระพุทธเจ้า. บทว่า สทฺธาหตฺโถ ได้แก่ ประกอบด้วยงวงที่สำเร็จด้วย
ศรัทธา. บทว่า อุเปกฺขาเสตทนฺตวา ได้แก่ ประกอบด้วยงาขาวที่สำเร็จ

ด้วยอุเบกขา มีองค์ 6. บทว่า สติ คีวา ความว่า คอเป็นที่ตั้งแห่งกลุ่ม
เส้นเอ็น ในอวัยวะน้อยใหญ่ของช้าง ฉันใด สติก็เป็นที่ตั้งแห่งธรรมมีโสรัจจะ
เป็นต้น ของช้างคือพระพุทธเจ้า ฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น พระกาฬุทายีเถระ
จึงกล่าวว่า สติ คีวา ดังนี้.
บทว่า สิโร ปญฺญา ความว่า ศีรษะเป็นอวัยวะอันสูงสุดของนาคะ
คือช้าง ฉันใด พระสัพพัญญุตญาณก็เป็นสิ่งสูงสุดของนาค คือพระพุทธเจ้า
ฉันนั้น ด้วยว่า พระพุทธเจ้านั้นทรงทราบธรรมทั้งปวง ด้วยพระสัพพัญญุต-
ญาณนั้น ด้วยเหตุนั้น พระกาฬุทายีเถระ จึงกล่าวว่า สิโร ปญฺญา ดังนี้.
บทว่า วิมํสา ธมฺมจินฺตนา ความว่า นาคคือช้าง ชื่อว่า มีปลายงวง
เป็นเครื่องพิจารณา ช้างนั้นพิจารณาถึงสิ่งที่แข็ง อ่อน และสิ่งของที่ควร
เคี้ยวกิน ด้วยปลายงวงนั้น ต่อแต่นั้นก็ละสิ่งของที่ควรละ คว้าเอาสิ่งของที่
ควรคว้า ฉันใด การคิดถึงธรรม กล่าวคือญาณเครื่องกำหนดส่วนแห่งธรรม
ชื่อว่าเป็น วีมํสา (ปัญญาเครื่องพิจารณา) ของนาคคือพระพุทธเจ้า ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะว่าพระพุทธเจ้านั้นทรงรู้จัก ภัพพาภัพพบุคคลด้วยญาณนั้น
ด้วยเหตุนั้น พระกาฬุทายีเถระ จึงกล่าวว่า วีมํสา ธมฺมจินฺตนา ดังนี้.
บทว่า ธมฺมกุจฺฉิสมาตโป ความว่า สมาธิในจตุตถฌานเรียกว่า
ธรรม. การเผาผลาญกิเลส คือ กุจฺฉิ ชื่อวา กุจฉิสมาตปะ ได้แก่ ที่สำหรับ
เผาผลาญ (กิเลส) ธรรมอันเป็นที่เผาผลาญ (กิเลส) คือท้องของบุคคลนั้น
มีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า มีธรรมเป็นที่เผาผลาญคือท้อง. เพราะว่า
ธรรมมีอิทธิวิธีเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในสมาธิ คือ
จตุตถฌาน เพราะเหตุนั้น สมาธิในจตุตถฌานนั้น จึงเรียกว่า ธรรมที่
เผาผลาญ คือ ท้อง.

บทว่า วิเวโก ได้แก่ กายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก. ขนหาง
ของช้างย่อมขับไล่แมลงวัน ฉันใด วิเวกของพระตถาคตย่อมขับไล่คฤหัสถ์
และบรรพชิต ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น วิเวกนั้น พระกาฬุทายีเถระจึงกล่าวว่า
ขนหาง.
บทว่า ฌายี แปลว่า ผู้มีปกติเพ่งด้วยฌาน 2. บทว่า อสฺสาสรโต
ความว่า ก็ผลสมาบัติของนาค คือ พระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนลมหายใจเข้า
และออกของช้าง พระพุทธเจ้าทรงยินดีในผลสมาบัตินั้น อธิบายว่า เว้นจาก
ผลสมาบัตินั้นซึ่งเปรียบเหมือนลมหายใจเข้าลมหายใจออกก็เป็นไปไม่ได้.
บทว่า สพฺพตฺถ สํวุโต ได้แก่ สำรวมแล้วในทุกทวาร. บทว่า
อนวชฺชานิ ได้แก่ โภชนะที่เกิดขึ้นจากสัมมาอาชีวะ. บทว่า สาวชฺชานิ
ได้แก่ โภชนะที่เกิดขึ้นด้วยมิจฉาอาชีวะ 5 อย่าง.
บทว่า อณุํถูลํ ได้แก่ น้อยและมาก. บทว่า สพฺพํ เฉตฺวาน
พนฺธนํ
ได้แก่ ตัดสังโยชน์หมดทั้ง 10 อย่าง. บทว่า น อุปลิปฺปติ โลเกน
ความว่า ไม่ติดอยู่กับโลกด้วยเครื่องทำให้ติด คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ.
บทว่า มหคฺคินี ได้แก่ ไฟกองใหญ่. ในบทว่า วิญฺญูหิ เทสิตา
นี้ มีความว่า พระกาฬุทายีเถระบรรลุปฏิสัมภิทา เป็นวิญญูชนเป็นบัณฑิต
(อุปมาทั้งหลาย) อันพระกาฬุทายีเถระนั้นแสดงไว้แล้ว.
บทว่า วิญฺญายนฺติ มหานาคา นาคํ นาเคน เทสิตํ ความว่า
นาคคือพระขีณาสพนอกนี้ จักรู้แจ้งนาคคือพระพุทะเจ้าที่นาคคือพระอุทายีเถระ
แสดงไว้แล้ว.
บทว่า สรีรํ วิชหํ ปรินิพฺพสฺสติ ความว่า นาคคือพระพุทธเจ้า
ทรงดับสนิทด้วยการดับกิเลส ณ โพธิบัลลังก์แล้วจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ระหว่างนางรังทั้งคู่.

พระอุทายีเถระผู้บรรลุปฏิสัมภิทา จบเทศนาโดยกล่าวสรรเสริญคุณ
พระทศพลด้วยคาถา 16 คาถา ด้วยบท 64 บท ด้วยประการดังพรรณนามา
ฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนา. เวลาจบเทศนา สัตว์ 84,000
ได้ดื่มน้ำอมฤต (บรรลุธรรม) แล.
จบอรรถกถานาคสูตรที่ 1

2. มิคสาลาสูตร


ว่าด้วยบุคคล 6 จำพวก


[315] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรจีวร
เข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกาชื่อมิคสาลา แล้วนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้ ครั้งนั้น
อุบาสิกาชื่อมิคสาลาเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์
ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนี้ ที่เป็นเหตุให้คน 2 คน คือคนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติ
เสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือ บิดาของดิฉัน
ชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนอัน
เป็นธรรมชองชาวบ้าน ท่านทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต บุรุษชื่ออิสิทัตตะผู้เป็นที่รักของ
บิดาของดิฉัน เป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน
แม้เขากระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามี-